Super User

Super User

      ข้อมูลข่าวสาร คือ สิ่งที่สื่อความหมายให้ทราบถึงเรื่องราวหรือข้อเท็จจริงเรื่องหนึ่ง เรื่องใดโดยในความหมายนี้เน้นที่การสื่อความหมายเป็นหลัก มิได้เน้นที่รูปร่างหรือรูปแบบของความเป็นข้อมูลข่าวสาร กล่าวคือ สิ่งที่เป็นข้อมูลข่าวสารได้นั้นไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปร่าง หรือรูปแบบของกระดาษที่มีข้อความหรือแฟ้มเอกสาร แต่หมายความรวมถึงสิ่งต่างๆ ที่อาจจะปรากฏให้เห็นเป็นข้อความ ตัวเลข สัญลักษณ์ เสียง และสิ่งอื่นๆที่ทำให้มนุษย์สามารถเข้าใจและรู้ความหมายได้ ไม่ว่าจะเป็นโดยสภาพขอสิ่งนั้นเอง หรือโดยผ่านกรรมวิธีใดๆ เช่น ประจุไฟฟ้าแม่เหล็ก ฟิล์ม ไมโครฟิล์ม รูปภาพ เทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ คอมพิวเตอร์ แผ่นบันทึกข้อมูล (Diskette) คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

      ข้อมูลข่าวสารของราชการ หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครอง หรือควบคุมดูแล ของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งถือเป็นข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในบังคับแห่ง พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

      ดังนั้น ความหมายของคำว่า “ข้อมูลข่าวสารของราชการ” จึงให้ความสำคัญต่อลักษณะหรือสิทธิในการยึดถือข้อมูลข่าวสารนั้นว่าอยู่ในขอบเขตอำนาจครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐหรือไม่ ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าเนื้อหาสาระของข้อมูลข่าวสารเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร อาจจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินการของรัฐ หรือเกี่ยวข้อกับบุคคลหรือเอกชนใดๆ ก็ได้

ประชาชนจะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการได้อย่างไร ?

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 กำหนดวิธีในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารไว้ 4 วิธี ดังนี้

   1.) เปิดเผยโดยการนำข้อมูลข่าวสารที่กฎหมายกำหนดลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ข้อมูลที่ต้องเปิดเผยโดยวิธีนี้ประกอบด้วย ข้อมูลที่เกี่ยวกับโครงการสร้างและการจัดการองค์กร สรุปอำนาจหน้าที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูล ข่าวสาร กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง หรือหนังสือเวียน ที่จัดให้มีขึ้นโดยมีสภาพอย่างกฎเพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้องและข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด

   2.) เปิดเผยโดยการตั้งแสดงไว้ในสถานที่ที่หน่วยงานจัดเตรียมไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ด้วยตนเอง ข้อมูลข่าวสารที่ต้องเปิดเผยโดยวิธีนี้ประกอบด้วย ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน นโยบายหรือการตีความหมายที่ไม่เข้าข่ายต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 7 (4) แผนงาน/โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่กำลังดำเนินการคู่มือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีผลกระทบถึงสิทธิหน้าที่ของเอกชน สิ่งพิมพ์ที่ได้อ้างถึง มาตรา 7 วรรคสอง สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็น การผูกขาด ตัดตอน หรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชน ในการจัดทำบริการสาธารณะ มติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย หรือโดยมติคณะรัฐมนตรี และข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด

   3.) เปิดเผยตามที่ประชาชนมีคำขอเป็นการเฉพาะราย ซึ่งข้อมูลข่าวสารที่จะขอให้เปิดเผยโดยวิธีนี้ เป็นข้อมูลข่าวสารที่อยู่นอกเหนือจากข้อ 1 และข้อ 2 ดังกล่าวข้างต้น

   4.) การเปิดเผยโดยหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ข้อมูลข่าวสารที่จะขอให้เปิดเผยโดยวิธีนี้ คือ ข้อมูลข่าวสารที่เป็นเอกสารประวัติศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสศึกษาค้นค้าเป็นการทั่วไป

เมื่อได้ทราบถึงวิธีการเปิดเผยทั้ง 4 วิธี ดังกล่าวข้างต้นแล้ว กล่าวได้ว่าประชาชนจะสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ สรุปได้ดังนี้

   1.) โดยการตรวจค้นได้จากราชกิจจานุเบกษา สำหรับข้อมูลข่าวสารที่ต้องเปิดเผยโดยวิธีการลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

   2.) โดยการใช้สิทธิเข้าตรวจดูได้ด้วยตนเอง ณ สถานที่ ที่หน่วยงานกำหนดและจัดเตรียมข้อมูลข่าวสารนั้นไว้สำหรับข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

   3.) โดยการไปใช้สิทธิขอดูโดยการยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐ ที่จัดกับหรือครอบครองดูแลข้อมูลข่าวสารที่ต้องการขอดูนั้น สำหรับข้อมูลข่าวสารของราชการปกติทั่วไป

   4.) โดยการใช้บริการศึกษาค้นคว้า ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ สำหรับข้อมูลข่าวสารที่เป็น “เอกสารประวัติศาสตร์”

“ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล” หมายความว่าอย่างไร?

      “ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล” คือ ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่เป็น “สิ่งเฉพาะตัว” ของบุคคล ไม่ว่าในแง่มุมใด เช่น การศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติ สุขภาพ ประวัติอาชญากรรม ประวัติการทำงาน เป็นต้น

      ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคลยัง ไม่ถือเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ นอกจากจะมีสิ่งบ่งชี้ตัวบุคคลด้วยว่าข้อมูลข่าวสารนั้นเป็นของบุคคลใด โดยอาจเป็น รหัส หมายเลข รูปถ่าย หรือ สิ่งบ่งชี้อย่างอื่นก็ได้

      โดยปกติคนเราจะมีความเป็นอยู่ส่วนตัวในการดำรงชีวิตระดับที่ไม่ต้องการให้ผู้อื่นนำไปเปิดเผยต่อสาธารณะ ซึ่งอาจทำให้เราเกิดความไม่สบายใจ หรือรำคาญใจ ซึ่งมาตรา ๓๔ ของรัฐธรรมนูญ ได้รับรองว่าบุคคลมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว ผู้ใดจะรุกล้ำความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่นมิได้

      ตำบลไผ่ เดิมขึ้นกับอำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาจังหวัดอุบลราชธานีแบ่งการปกครอง แยกอำเภอยโสธร เป็นจังหวัดยโสธร ตำบลไผ่ จึงขึ้นกับอำเภอกุดชุม ปัจจุบันอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร แบ่งการปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน พื้นที่ ตำบลไผ่ เป็นที่ราบสูง เหนือระดับน้ำ สภาพดินเป็นดินร่วนปนทรายไม่อุ้มน้ำ มีเนื้อที่ 17,947 ไร่ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร และนับถือศาสนาพุทธ

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

      ภาษีโรงเรือนและที่ดิน คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบ้านเช่า อาคาร ร้านค้า ตึกแถว บริษัท ธนาคาร โรงภาพยนตร์ แฟลต หอพัก คอนโดมิเนียม ร.ร.สอนวิชาชีพ โรงงานอุตสาหกรรม สนามมวย สนามกอล์ฟ ท่าเรือ บ่อนไก่ ฟาร์มสัตว์ คลังสินค้า และบริเวณที่ดินที่ปกติใช้ร่วมรับโรงเรือนนั้น โดยมีห้วงเวลาในการจัดเก็บประจำทุกวันที่ 1 มกราคม ถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี

การยื่นแบบประเมินและการชำระภาษี

  1. เจ้าของทรัพย์สินหรือผู้รับมอบอำนาจยื่นแบบแสดงรายการทรัพย์สิน (ภ.ร.ด.2) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม – สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี
  2. ถ้าค่าภาษีเกิน 9,000 บาท สามารถผ่อนชำระได้ 3 งวดๆละเท่ากัน
  3. ผู้รับการประเมินต้องชำระเงินภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแบบแจ้งการประเมิน

อัตราค่าปรับ

  1. ผู้ใดละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการมีความผิด โทษปรับไม่เกิน 200 บาท และเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ไม่เกิน 10 ปี
  2. ผู้ยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์มีความผิดต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ไม่ เกิน 5 ปี
  3. ถ้าชำระภาษีเกินกำหนด 30 วันนับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ให้เสียเงินเพิ่ม ดังนี้
    1. ไม่เกิน 1 เดือน เสียเงินเพิ่ม 2.5% ของค่าภาษี
    2. เกิน 1 เดือนแต่ไม่เกิน 2 เดือนเสียเงินเพิ่ม 5% ของค่าภาษี
    3. เกิน 2 เดือนแต่ไม่เกิน 3 เดือนเสียเงินเพิ่ม 7.5%ของค่าภาษี
    4. เกิน 3 เดือนแต่ไม่เกิน 4 เดือนเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษี
    5. เกิน 4 เดือนขึ้นไปให้ยึดหรือขายทอดตลาดทรัพย์สิน โดยมิต้องขอให้ศาลสั่งหรือออกหมายยึด

ภาษีบำรุงท้องที่

      ภาษีบำรุงท้องที่ คือ ภาษีที่จัดเก็บจากเจ้าของที่ดินหรือผู้ครอบครองที่ดินนั้น โดยมีห้วงจัดเก็บประจำทุก ภาษีบำรุงท้องที่ วันที่ 1 มกราคม ถึง 30 เมษายน ของทุกปี

อัตราภาษี

      เสียตามราคาปานกลางของที่ดิน มีหลายอัตรา ขอทราบรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่ ได้โดยตรง ที่ดินว่างเปล่า หรือไม่ได้ทำประโยชน์ จะต้องเสียภาษีเป็น 2 เท่า ของอัตราปกติ

การอุทธรณ์การฟ้องศาล

  • ยื่นอุทธรณ์ผ่านเจ้าพนักงานประเมินภายใน 30 วัน

ยื่นแบบแสดงรายการที่ดินและการชำระภาษี

  1. ให้เจ้าของที่ดิน,ผู้ครอบครองที่ดิน ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ,ท.5) และชำระภาษีปีละครั้ง ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม ถึง 30 เมษายน ของทุกปี
  2. ผู้ที่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินใหม่หรือเนื้อที่ดินเปลี่ยนแปลงให้ยื่นแบบนับแต่วันที่โอนกรรมสิทธิ์

อัตราโทษและค่าปรับ

  1. ไม่ยื่นแบบภายในกำหนดเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษีที่ประเมิน
  2. ยื่นรายการไม่ถูกต้องเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษีที่ประเมินเพิ่ม
  3. ชี้เขตแจ้งจำนวนเนื้อที่ดินไม่ถูกต้อง ต้องเสียเงินเพิ่มอีก 1 เท่า ของค่าภาษีที่ประเมินเพิ่ม
  4. ชำระภาษีเกินกำหนดวันที่ 30 เมษายน ต้องเสียเงินเพิ่ม 24% ต่อปี ของค่าภาษี

ภาษีป้าย

      ภาษีป้าย คือ ภาษีที่จัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายการค้าหรือโฆษณาหรือกิจการอื่น เพื่อหารายได้ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลักจารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น โดยมีห้วงเวลาการจัดเก็บประจำทุกวันที่ ภาษีป้าย 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม ของทุกปี

อัตราภาษี

  1. ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน คิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.
  2. ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ หรือปนกับรูปภาพ หรือเครื่องหมายอื่นคิดอัตรา 20 บาทต่อ 500 ตร.ซม.
  3. ป้ายดังต่อไปนี้คิดอัตรา 40 บาทต่อ 500 ตร.ซม.
    1. ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
    2. ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
  4. ป้ายที่คำนวณพื้นที่และประเภทของป้ายแล้ว เสียภาษีต่ำกว่า 200 บาท ให้เสียในอัตรา 200 บาท

การยื่นแบบประเมินและการชำระภาษี

  1. ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ตั้งแต่ 2 มกราคม ถึง 31 มีนาคม ของทุกปี โดยเสียเป็นรายปี ยกเว้นป้ายที่ติดตั้งใหม่ให้ยื่นแบบแสดงรายการภายใน 15 วัน
  2. ชำระภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินจากพนักงานเจ้าหน้าที่
  3. ถ้าภาษีป้ายเกิน 3,000 บาท สามารถผ่อนชำระได้ 3 งวดๆละเท่ากัน

อัตราโทษและค่าปรับ

  1. ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายใน เดือนมีนาคมหรือหลังติดตั้งป้าย 15 วันเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษี
  2. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายไม่ถูกต้องทำให้ค่าภาษีน้อยลง ต้องเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษีที่ประเมินเพิ่มเติม
  3. ไม่ชำระเงินภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับการแจ้งการประเมินเสียเงินเพิ่ม 2% ต่อเดือน ของค่าภาษีเศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน

ใบอนุญาตกิจการประเภทต่างที่ต้องมีการควบคุม

      อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 71 แห่ง พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และมาตรา 32, 54 และ 63 แห่ง พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 ออกข้อบังคับไว้ให้กิจการประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุม

  1. กิจการที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงไก่,หมู ฯลฯ
  2. กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม
  3. กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร
  4. กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล
  5. กิจการที่เกี่ยวกับการบริการเช่น ตู้เกมส์ ร้านเสริมสวย หอพัก ฯลฯ
  6. กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอเช่นการเย็บผ้าด้วยเครื่องจักร ซักอบรีด ฯลฯ
  7. กิจการที่เกี่ยวกับ หิน ดิน ทราย ซีเมนต์
  8. กิจการที่เกี่ยวกับยา
  9. กิจการที่เกี่ยวกับไม้
  10. กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ถ่านหิน สารเคมี แก๊ส น้ำมัน เป็นต้น

เอกสารที่ต้องใช้ในการขออนุญาต

  1. บัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. ใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยอาคาร
  4. เอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เจ้าหน้าที่เห็นว่าสมควร เรียกเพิ่มเพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาต

อัตราโทษและค่าปรับ

  1. ผู้ประกอบการค้ารายใด ไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนข้อบังคับนี้ ต้องระวางโทษตามบทกำหนดโทษแห่ง พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535
  2. ไม่ชำระค่าธรรมเนียมตามกำหนดเวลาเสียค่าปรับเพิ่ม 20% ของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่จะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการก่อนกำหนด การเสียค่าธรรมเนียมตามข้อบังคับนี้

ติดต่อชำระภาษี

      องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร 35170. โทร. 045-756779 โทรสาร 045-756779 อีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. เว็บไซต์ www.phailocal.go.th

"ท้องถิ่นดี ภาษีช่วย ท้องถิ่นสวย ภาษีสร้าง"

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

นางศศิตาภา คลองงาม

รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
รักษาราชการแทน
ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

พนักงานส่วนตำบล

- ว่าง -

นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

 


 

พนักงานจ้างภารกิจ/ทั่วไป

นายธรรมธัช ศรีวันคำ

ผู้ช่วยเจ้าพนักงานสาธารณสุข

Monday, 01 June 2020 15:16

ติดต่อเรา

องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร 35170. โทร. 045-756779 โทรสาร 045-756779

     องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร มีนายกองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นผู้บริหารสูงสุด มีภารกิจอำนาจหน้าที่ภายใต้ระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับและมติ ครม. ที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนด วิสัยทัศน์การพัฒนา (vision) การพัฒนา ภาพการณ์ที่ปรารถนาให้เกิดขึ้นในอนาคต ของ องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ ดังนี้

วิสัยทัศน์ (Vision)

     วิสัยทัศน์การพัฒนา (vision) หมายถึง สภาพการณ์ที่เราปรารถนาให้เกิดขึ้นในอนาคต

"โครงสร้างพื้นฐานสะดวกปลอดภัย ใส่ใจคุณภาพสิ่งแวดล้อม พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ น้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียง ยึดมั่นธรรมาภิบาล บริการเพื่อประชาชน"

พันธกิจ (Mission)

     พันธกิจ (Mission) หมายถึง ขอบเขตของบทบาทหน้าที่หลักขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จำเป็นต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ (ต้องทำอะไรถึงจะบรรลุตามวิสัยทัศน์ที่เรากำหนดไว้)

  • จัดให้มีและบำรุงรักษาถนน ไฟฟ้าและประปา
  • ส่งเสริมการศึกษาและระบบการสาธารณสุข
  • ส่งเสริมการเกษตรปลอดภัยและเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน
  • จัดให้มีการรักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
  • ส่งเสริมให้เด็กสตรี เยาวชนผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสได้รับสวัสดิการที่ดี
  • ส่งเสริมสนับสนุนประเพณีและวัฒนธรรมที่ดีงามของท้องถิ่น
  • การบริหารจัดการองค์กรโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
  • ส่งเสริมสนับสนุนการบริการด้านสาธารณะตามอำนาจหน้าที่
  • จัดให้มีการบริหาจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี
  • ให้มีการอนุรักษ์ป่าชุมชนและแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและท่องเที่ยวเชิงการอนุรักษ์
  • ส่งเสริมการเกษตรปลอดภัยและเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน
  •  

    เป้าประสงค์ (Goal)

         เป้าประสงค์ หมายถึง การระบุสภาพที่ต้องการให้สำเร็จ (การดำเนินการ เพื่อให้เกิดอะไร ถึงจะบรรลุตามวิสัยทัศน์ หรือภาพความสำเร็จของวิสัยทัศน์)

    1. ระบบสาธารณูปโภคได้มาตรฐานและเพียงพอ
    2. ประชาชนได้รับการส่งเสริมการศึกษาอย่างทั่วถึงและสุขภาพดีขึ้น
    3. ประชาชนทำเกษตร กรรมแบบเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดสารเคมี
    4. เด็ก สตรี เยาวชน ผู้สูง อายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสได้รับการช่วยเหลือดูแลอย่างทั่วถึง
    5. ประชาชนได้รับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
    6. ได้รับการฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม
    7. บริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตามหลักการบริหาร
    8. ประชาชนได้รับบริการด้วยความเป็นธรรม โปร่งใส มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น
    9. ชุมชนมีทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวด ล้อมที่สมดุลและยั่งยืน
    10. สภาพสิ่งแวดล้อมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดีขึ้น
    11. ประชาชนทำเกษตร กรรมแบบเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดสารเคมี

     

    กองการศึกษา
    ศาสนาและวัฒนธรรม

    นายวิทยา เวฬุวนารักษ์

    หัวหน้าสำนักปลัด รักษาราชการแทน
    ผู้อำนวยการกองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม

    พนักงานส่วนตำบล

    นางสุปราณี ประทุมวัน

    ครู คศ.1

    นางเดือนเพ็ญ เวฬุวนารักษ์

    ครู คศ.1

    นางสาวมัดใจ วงศ์ศิริ

    ครู คศ.1

    นางสุพาพร เวฬุวนารักษ์

    ครู คศ.1

    นางนวลละออง ศรีวะรมย์

    ครู คศ.1

     


     

    พนักงานจ้างภารกิจ/ทั่วไป

    นางสาวปนัสยา กิจค้า

    ผู้ดูแลเด็ก

    นางจันทา เวฬุวนารักษ์

    ผู้ดูแลเด็ก

    นางสาวลลิดา มาสขาว

    ผู้ดูแลเด็ก

    นางสาวจรัญพร พันธ์เลิศ

    ผู้ช่วยเจ้าพนักงานธุรการ

    Thursday, 16 June 2022 10:11

    กองช่าง

    กองช่าง

    นายชัยฤทธิ์ ดวงบัญชา

    ผู้อำนวยการกองช่าง

    พนักงานส่วนตำบล

    นายเวคิน หงษ์ทอง

    นายช่างโยธา

    นายณัฐพัตน์ บัวเผื่อน

    นายช่างไฟฟ้า

     


     

    พนักงานจ้างภารกิจ/ทั่วไป

    นายอภิสิทธิ์ ธนาคุณ

    ผู้ช่วยนายช่างโยธา

    Thursday, 16 June 2022 01:11

    กองคลัง

    กองคลัง

    นางสาวพวงผกา เจริญศรี

    ผู้อำนวยการกองคลัง

    พนักงานส่วนตำบล

    นางธารทิพย์ แพงบุดดี

    นักวิชาการคลังชำนาญการ

    - ว่าง -

    นักวิชาการจัดเก็บรายได้ปฏิบัติการ

     


     

    พนักงานจ้างภารกิจ/ทั่วไป

    นางสาวฉัฐวรัตถ์ ทองน้อยธนสร

    ผู้ช่วยเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี

    นางสาวอรไพลิน เวฬุวนารักษ์

    ผู้ช่วยเจ้าพนักงานพัสดุ

    นางสาววีรวรรณ พันธ์เลิศ

    ผู้ช่วยเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้

    Thursday, 16 June 2022 07:20

    สำนักงานปลัด

    สำนักงานปลัด

    นายวิทยา เวฬุวนารักษ์

    หัวหน้าสำนักปลัด

    พนักงานส่วนตำบล

    นางเกศสุดา ทองทา

    นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
    ปฏิบัติการ

    นางสาวกันต์ฤทัย สามสี

    นักพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ

    นางสาวจิดาภา พันธ์เลิศ

    นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

    นางสาวจุฬาลักษณ์ มีแก้ว

    นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ

    นายธนศักดิ์ โซรัมย์

    เจ้าพนักงานป้องกัน
    และบรรเทาสาธารณภัยปฏิบัติงาน

     


     

    พนักงานจ้างภารกิจ/ทั่วไป

    นางสาวธัญญ์สุทัตตา แสงงาม

    ผู้ช่วยเจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน

    นายพีระพัฒน์ เวฬุวนารักษ์

    ผู้ช่วยเจ้าพนักงานธุรการ

    นางสาวอรธนัฎฐ์ เลิศบุญญากานต์

    ผู้ช่วยเจ้าพนักงานธุรการ

    นายษมาวิสุทธิ์ เอี่ยมชยังกร

    พนักงานขับรถยนต์

    นายสานิตย์ บุญลอย

    คนงานทั่วไป

    นายมงกุฎ เวฬุวนารักษ์

    นักการภารโรง

    ร้องเรียนร้องทุกข์

    Poll

    ความพึงพอใจของท่านต่อการบริหารงาน และการให้บริการประชาชนของ องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ อยู่ในระดับใด ?
    • โหวต: (0%)
    • โหวต: (0%)
    • โหวต: (0%)
    • โหวต: (0%)
    • โหวต: (0%)
    Total Votes:
    First Vote:
    Last Vote:

    Map

    สารสนเทศ สถ.

    หน่วยงาน สถ.

    ลิงค์น่าสนใจ